วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2562
วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562
ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
ภาพจาก : https://s3.amazonaws.com/user-media.venngage.com/314475-f1139cb852be185b9be2cdffe4487a51.jpg
ปกติแล้วร่างกายของคนเราได้รับสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ
เข้าสู่ร่างกายอยู่เป็นประจำทุกวัน อาทิ เแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา สารเคมี
ฝุ่นละออง ที่เจือปนอยู่ในอากาศ อาหาร และน้ำดื่มสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะเรียกว่า
แอนติเจน (Antigen) สิ่งแปลกปลอมอาจเข้าสู่ร่างกายโดยทางระบบหายใจ
ผิวหนัง ระบบหมุนเวียนโลหิต หรือระบบย่อยอาหาร
เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยและโรคภัยต่าง ๆ
ได้ ดังนั้น ร่างกายจึงต้องมีกลไกเเพื่อป้องกัน กำจัด
หรือทำลายสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกจากร่างกาย เช่น การสร้างสารคัดหลั่งต่าง ๆ
ที่มีฤทธิ์ทำลายแบคทีเรีย
กรดแลกติกที่ถูกขับออกมาทางผิวหนังเพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
หรือแม้แต่ขนจมูกและน้ำเมือกในระบบทางเดินหายใจ
สิ่งเหล่านี้จะทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมในเบื้องต้น
แต่ถ้าหากสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายยังถูกกำจัดหรือทำลายไม่หมด
ร่างกายจะมีกลไกอีกหนึ่งอย่างซึ่งทำหน้าที่กำจัดและทำลายสิ่งแปลกปลอมโดยเซลล์พิเศษที่เรียกว่า
ฟาโกไซต์ ตัวอย่างเช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด
จะทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยผ่านกระบวนการ ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis)
ในกรณีที่ไม่สามารถกำจัด
หรือทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากด้วยกระบวนการ ฟาโกไซโทซิส
ได้ทั้งหมด ร่างกายจะสร้างกลไกที่ซับซ้อนขึ้นมาเพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ
ที่เป็นอันตรายกับร่างกาย เรียกกลไกที่ซับซ้อนนี้ว่า ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune
system) ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันเป็นกระบวนการของร่างกายที่จะสร้างโมเลกุลโปรตีนที่มีความจำเพาะที่เรียกว่า
แอนติบอดี (Antibody) ซึ่งมีหน้าที่กำจัดและทำลายสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ
ที่เข้าสู่ร่างกายอย่างจำเพาะกับชนิด
และเรียกสิ่งแปลกปลอมที่มีความสามารถในการกระตุ้นการตอบสนองของร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันว่า
แอนติเจน (Antigen) โมเลกุลของแอนติบอดีที่เกิดขึ้นในร่างกายจะทำปฏิกิริยาเคมีเฉพาะกับแอนติเจน
หรือสารที่มีคุณสมบัติเป็นแอนติเจน
จะเกิดขึ้นบริเวณตำแหน่งบนผิวแอนติเจนที่สามารถทำปฏิกิริยาเฉพาะเจาะจงกับแอนติบอดีชนิดนั้นเรียกว่า
Antigenic Determinant ซึ่งตำแหน่งนี้มีรูปร่างหรือโครงสร้างที่แตกต่างกันไป
จึงทำให้แอนติเจนสามารถทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีได้หลายชนิดและหลายโมเลกุล
ทำให้ร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกัน และสามารถต่อต้าน กำจัด และทำลายสิ่งแปลกปลอม
สารเคมี และเชื้อโรคต่างๆได้
แหล่งที่มาข้อมูล : https://ketmaneenutsima.wordpress.com/
รศ. ดร.วิทยา ยศยิ่งยวด.
การป้องกันตนเองของร่างกายและระบบภูมิคุ้มกัน. คู่มือการสอนชีววิทยา.
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรียบเรียงโดย : นางสาวภัทราพร แสนเทพ
วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562
coodingคืออะไร
Coding หรือการเขียนโค้ด สรุปให้เข้าใจง่ายๆ
ก็คือการสั่งงานคอมพิวเตอร์ ให้มันทำตามที่เราต้องการนี่แหละครับ
เหมือนเป็นการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์นั่นเอง
แต่เปลี่ยนจากภาษาคนเป็นภาษาคอมพิวเตอร์
เปรียบไปก็เหมือนเวลาเราจะคุยกับชาวต่างชาติ
เราก็ต้องพูดภาษาอังกฤษหรือภาษากลางอื่นๆ เพื่อการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ก็เช่นกันอ่านเพิ่มเติม
AIคืออะไร
เพื่อนๆหลายคนก็คงจะสงสัยว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence) หรือ AI นี้คืออะไรกันนะ
ทำไมหันไปทางไหนก็เจอ ก็ได้ยินเค้าพูดถึงกันเยอะแยะเลยโดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Google, Facebook, HUAWEI หรือ
Apple ต่างก็ให้ความสนใจไม่น้อย
แอดก็จะมาเอ่ยให้เข้าใจกันอย่างคร่าวๆ นั่นก็คือปัญญาประดิษฐ์
ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Artificial Intelligence มีคำย่อว่า
AI เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ที่มีแนวคิดในรูปที่เน้นเหตุผลเป็นหลัก
มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์
โดยเฉพาะความสามารถในการคิดและเป็นผู้ช่วยในด้านต่างๆ อาทิเช่น
ระบบนำทางรถยนต์ไร้คนขับ, ช่วยผู้อัจฉริยะในสมาร์ทโฟนอ่านเพิ่มเติม
วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562
วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ฉบับล่าสุดได้มีการประกาศใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 ซึ่งเป็น
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2 อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)